เหตุผลความจำเป็นในการกำหนดมาตรการ

    1.1 มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีค่าใช้จ่าย ด้านบุคคลไม่เกินร้อยละ 40 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.2547-2551 กรุงเทพมหานครมีค่าใช้จ่ายด้านบุคคล คิดเป็นร้อยละ 28.36,31.45,30.38,34.89 และ 34.91 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี และในปีงบประมาณ พ.ศ.2552 มีประมาณการค่าใช้จ่าย ด้านบุคคลที่จะเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 41.10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี

    1.2 สภาพกำลังคนของกรุงเทพมหานครย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ.2547-2551) โดยในส่วนของข้าราชการมีจำนวนกรอบอัตรา กำลังข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเพิ่มขึ้นทุกปีเป็นจำนวน 21,758 21,998 22,717 23,382 และ 23,647 ตำแหน่ง ตามลำดับ สำหรับกรอบ อัตรากำลังลูกจ้างมีจำนวนสูงมาก โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 มีจำนวนกรอบอัตรากำลังลูกจ้าง 55,239 61,644 57,763 และ 61,178 ตำแหน่ง ตามลำดับ

    คณะกรรมการจัดสรรกำลังคนฯ ได้พิจารณาจำนวนกำลังคนของกรุงเทพมหานครที่มีการเพิ่มขึ้นโดยตลอดแล้วเห็นว่า กรุงเทพมหานครจะมีค่าใช้จ่ายด้านบุคคลเกินกว่าที่กำหนดไว้ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 จึงมีความจำเป็นจะต้องมีการปรับขนาดกำลังคนโดยด่วนเพื่อไม่ให้มีค่าใช้จ่ายด้านบุคคลเกิดกว่าที่กฎหมายกำหนดและเพื่อให้กำลังคนของ กรุงเทพมหานครมีขนาดและคุณภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกับภารกิจของกรุงเทพมหานคร

แนวทางการปรับขนาดกำลังคน

  การปรับขนาดกำลังคนของกรุงเทพมหานครให้ได้ผลในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม จำเป็นต้องมีแนวทาง ดำเนินการที่หลากหลายและเป็นระบบ ตั้งแต่การปรับลดบทบาทภารกิจ การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน การส่งเสริมกลไก การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลต่าง ๆ โดยการผลักดันให้หน่วยงานเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยการพัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้ปฏิบัติ งานที่ทรงความรู้ ตลอดจนการเสริมสร้างแรงจูงใจและคุณภาพซึ่งเป็นการทำงานที่มีผลเชื่อมโยงต่อการใช้ทรัพยากรบุคคลให้คุ้มค่าเต็ม ศักยภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดควบคู่กันไป จึงได้กำหนดมาตรการเพื่อใช้ในการปรับขนาดกำลังคนของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย มาตรการหลัก และมาตรการสนับสนุน ดังนี้

  1. มาตรการหลักเป็นมาตรการที่กำหนดให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติ แบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ มาตรการ ระยะสั้น เป็นมาตรการที่ให้ใช้ทันทีเมื่อผู้บริหารให้ความเห็นชอบ (ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เห็นชอบ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2552) และมาตรการระยะยาว เป็นมาตรการที่ให้หน่วยงานดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละมาตรการ

แนวทางการดำเนินการมาตรการหลัก ระยะสั้น

มาตรการ

  1. ตำแหน่งข้่าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ

    1.1 โดยหลักการไม่เพิ่มกรอบอัตรากำลังในภาพรวมทุกหน่วยงาน ยกเว้นกรณีจำเป็นอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากมีการจัดตั้งหน่วยงานหรือส่วนราชการขึ้นใหม่หรือเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งไวอยู่ก่อนแล้วที่มีความจำเป็นต้องเพิ่ม อัตรากำลังโดยหน่วยงานหรือส่วนราชการที่จะเพิ่มกรอบอัตรากำลังได้ต้องมีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้

        1.1.1 เป็นหน่วยงานหรือส่วนราชการที่ทำหน้าที่ให้บริการประชาชนโดยตรง (งานบริการประชาชนโดยตรง หมายถึง งานบริการที่หน่วยงานหรือส่วนราชการรับคำขอจากประชาชนโดยตรง เช่น ประชาชนยื่นคำขอทำบัตร ประชาชนหรือประชาชนมาขอรับการตรวจรักษาที่ศูนย์บริการสาธารณสุขหรือโรงพยาบาล เป็นต้น)

        1.1.2 เป็นหน่วยงานหรือส่วนราชการที่จะต้องดำเนินการตามนโยบายผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานครหรือได้รับการถ่ายโอนภารกิจมาจากราชการส่วนกลางหรือตามที่กฎหมายกำหนด หากไม่ดำเนินการจะทำให้เกิดผลเสีย แก่กรุงเทพมหานคร

            โดยมีแนวทางดำเนินการ ดังนี้
            (1) ในเบื้องต้นให้เกลี่ยอัตรากำลังจากตำแหน่ง ภายในส่วนราชการหรือหน่วยงานก่อน 
            (2) หากยังมีอัตรากำลังไม่เพียงพอ ให้หน่วยงาน ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานหรือใช้การจ้างงานที่หลากหลาย เช่น การจ้างลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างที่ปฏิบัติตามโครงการจ้างอาสา หรือจ้างเหมาเอกชนแล้วแต่กรณี 
            (3) หากดำเนินการแล้วยังมีอัตรากำลังไม่เพียงพอ อีกให้เสนอเหตุผลความจำเป็นให้คณะกรรมการจัดสรรกำลังคนของกรุงเทพมหานครพิจารณาจัดสรรอัตราว่างจากหน่วยงานอื่นมาให้
            (4) หากคณะกรรมการฯ ไม่สามารถจัดสรรอัตราให้ได้หรือ จัดสรรแล้วยังมีอัตรากำลังไม่เพียงพอจึงจะสามารถนำเสนอขอเพิ่มกรอบอัตรากำลังได้ โดยการเพิ่มกรอบอัตรากำลังจะมีเงื่อนไข ดังนี้
             – หน่วยงานจะได้รับกรอบอัตรากำลังไม่เกินร้อยละ 50 ของกรอบอัตรากำลังที่สำนักงาน ก.ก. วิเคราะห์ได้ สำหรับกรอบอัตรากำลังที่ยังขาดอยู่อีกร้อยละ 50 ให้หน่วยงานแก้ไขปัญหาด้วย วิธีการอื่น เช่น การสร้างเครือข่ายในการทำงาน Project Management ไปก่อนจนกว่าจะมีการประกาศยกเลิกมาตรการ 
            – สำนักงาน ก.ก. จะดำเนินการวิเคราะห์อัตรากำลัง ให้หน่วยงานอีกครั้งเมื่อยกเลิกมาตรการ หากวิเคราะห์แล้วปรากฏว่าหน่วยงานยังมีความจำเป็นต้องใช้อัตรากำลังจึงจะกำหนดอัตรากำลังเพิ่ม ใหม่ให้
            – กรณีที่เป็นตำแหน่งในสายงานสนับสนุนเมื่อวิเคราะห์ แล้วจะไม่กำหนดกรอบอัตรากำลังเป็นตำแหน่งข้าราชการ โดยสำนักงาน ก.ก. จะกำหนดจำนวนผู้ปฏิบัติงานให้ และให้หน่วยงานใช้วิธีการ จ้างเหมาเอกชนดำเนินการ 

    1.2 ให้นำอัตราว่างจากการเกษียณอายุราชการ เสนอให้คณะกรรมการจัดสรรกำลังคนของกรุงเทพมหานคร พิจารณาจัดสรรให้ในภาพรวมตามความจำเป็นเร่งด่วน

    1.3 ให้นำตำแหน่งเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลที่ว่างจากการเกษียณอายุราชการและในระหว่างปีมารวมไว้ที่ ส่วนกลาง (สำนักงาน ก.ก.) เพื่อนำเสนอคณะกรรมการจัดสรรกำลังคนของกรุงเทพมหานครพิจารณาจัดสรรให้หน่วยงานที่มีความจำเป็นในการ ใช้อัตรากำลังหรือหน่วยงานที่จัดตั้งใหม่

     หมายเหตุ สำนักงาน ก.ก. จะมีหนังสือแจ้งแนวทางปฏิบัติให้กับหน่วยงานอีกครั้งหนึ่ง

  1. ตำแหน่งลูกจ้างประจำ

    2.1 ไม่ให้เพิ่มอัตรากำลังลูกจ้างประจำที่มีชื่อหรือลักษณะงานซ้ำซ้อนกับข้าราชการ

    2.2 กำหนดให้หน่วยงานสามารถเพิ่มกรอบอัตราลูกจ้างประจำได้ ดังนี้

        – ปีงบประมาณ 2553 ให้เพิ่มได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของกรอบอัตรากำลังลูกจ้าง ชั่วคราวของหน่วยงาน

        – ปีงบประมาณ 2554 ให้เพิ่มได้ไม่เกินร้อยละ 3 ของกรอบอัตรากำลังลูกจ้าง ชั่วคราวของหน่วยงาน

        – ปีงบประมาณ 2555 ให้เพิ่มได้ไม่เกินร้อยละ 2 ของกรอบอัตรากำลังลูกจ้าง ชั่วคราวของหน่วยงาน

    2.3 ให้ยุบเลิกกรอบอัตราลูกจ้างประจำที่ว่างจากการเกษียณอายุและว่างระหว่างปี (ตาย ลาออก ออก ด้วยเหตุวินัย) กรณีที่หน่วยงานมีความจำเป็นต้องใช้ตำแหน่งที่ว่างให้นำตำแหน่งลูกจ้างประจำอื่นมาเปลี่ยนเพื่อทดแทนได้

    2.4 เปลี่ยนแปลงและเกลี่ยอัตรากำลังลูกจ้างประจำที่มีเงื่อนไขตามข้อบังคับกรุงเทพมหานครว่าด้วย การกำหนดอัตราจ้างขั้นต่ำสูดและสูงสุดของลูกจ้าง ไปรองรับการจ้างและแต่งตั้งลูกจ้างชั่วคราวเป็นลูกจ้างประจำแทนการขอ พิจารณากำหนัดอัตราลูกจ้างประจำเพิ่มในแต่ละปีงบประมาณ รวมทั้งการนำอัตรากำลังลูกจ้างที่เกษียณอายุราชการประจำปี มาดำเนิน การร่วมด้วยอีกทางหนึ่ง

     หมายเหตุ ข้อ 2.4 ปลัดกรุงเทพมหานครได้สั่งการให้หน่วยงานดำเนินการตาม หนังสือที่ กท 0404/435 ลงวันที่ 28 เมษายน 2552

  1. ตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว

    3.1 การคัดเลือกลูกจ้างชั่วคราวเป็นลูกจ้างประจำ ผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกต้องอยู่ในตำแหน่ง ที่คัดเลือกติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 3 ปี (นับถึงวันสิ้นปีงบประมาณ) สำหรับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกอื่น ๆ ให้เป็นไปตามคณะกรรมการพิจารณาผลการคัดเลือกลูกจ้างชั่วคราวเป็นลูกจ้างประจำกำหนด

    3.2 ชะลอการกำหนดอัตรากำลังลูกจ้างชั่วคราวเพิ่มทุกกรณี ยกเว้นกรณีที่ผู้บริหารกรุงเทพมหานครเห็นว่า มีเหตุพิเศษหรือมีความจำเป็นเร่งด่วน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปหรือจนกว่าสถานการณ์ด้านงบประมาณจะผ่อนคลายภายใต้บทบัญญัติ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

    3.3 นำรูปแบบการจ้างเหมาเอกชนมาดำเนินการแทนการจ้างโดยพิจารณาจากความจำเป็นเหมาะสมตามสภาพงาน เช่น การจ้างเหมาทำความสะอาดภายในอาคาร การทำความสะอาดทางสาธารณะทั้งทางบกและทางน้ำ การรักษาความปลอดภััย เป็นต้น ทั้งนี้ คาดหมายว่าภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 กรุงเทพมหานครจะดำเนินการจ้างเอกชนหรือมีเครือข่ายมาดำเนินการแทนการจ้างลูกจ้างเอง ประมาณร้อยละ 40

     หมายเหตุ ข้อ 3.2 และ 3.3 ปลัดกรุงเทพมหานครได้สั่งการให้หน่วยงานดำเนินการ แล้วตามหนังสือที่ กท 0404/435 ลงวันที่ 28 เมษายน 2552

แนวทางการดำเนินการมาตรการหลัก ระยะยาว

มาตรการ

  1. ให้สำนักงาน ก.ก. และหน่วยงานร่วมกันตรวจสอบตำแหน่งที่ปฏิบัติภารกิจรองและภารกิจสนับสนุนของหน่วยงาน และจัดทำบัญชี แสดงตำแหน่งที่ปฏิบัติภารกิจสนับสนุน 
         กรณีที่หน่วยงานใดมีตำแหน่งที่ปฏิบัติภารกิจสนับสนุนเกินกว่า 20% ของจำนวน ตำแหน่งทั้งหมด ให้หน่วยงานและสำนักงาน ก.ก. ร่วมกันพิจารณาและลดจำนวนตำแหน่งไม่ให้เกินกว่าที่กำหนด
         หมายเหตุ สำนักงาน ก.ก. จะมีหนังสือแจ้งแนวทางปฏิบัติให้หน่วยงานทราบอีกครั้งหนึ่ง
  2. ให้หน่วยงานปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการทำงาน เช่น นำเทคโนโลยีมาทดแทนการใช้กำลังคนหรือใช้วิธีการจ้างงานที่หลากหลาย รูปแบบ เพื่อให้มีผู้ปฏิบัติงานทดแทนในภารกิจสนับสนุน
  3. ให้กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร และส่วนราชการที่ปฏิบัติงานการเจ้าหน้าที่หน่วยงาน สำรวจตำแหน่งที่ไม่สามารถ แต่งตั้งข้าราชการไปดำรงตำแหน่งได้ และเป็นตำแหน่งที่ว่างเกินกว่า 1 ปี เพื่อแจ้งให้สำนักงาน ก.ก. ตรวจสอบ และหากพบว่าปัญหาที่ไม่สามารถแต่งตั้งข้าราชการเกิดจาก การกำหนดตำแหน่งไม่เหมาะสมให้ดำเนินการปรับปรุงตำแหน่งใหม่เพื่อให้สามารถแต่งตั้งบรรจุราชการไปดำรงตำแหน่งได้ และหากเป็นตำแหน่งว่างที่เกิดจากปัญหาอื่น ๆ เช่น ยังไม่เปิดสอบให้แจ้งหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเร่งดำเนินการ ทั้งนี้เพื่อมิให้การขาดอัตรากำลังส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานในภาพรวมของ กทม. ได้
  4. ให้กรุงเทพมหานครกำหนดระยะเวลาการแต่งตั้ง (ย้าย) ข้าราชการในแต่ละตำแหน่งให้มีกำหนดเวลาที่ชัดเจนและดำเนินการปีละ 2 ครั้ง (วันที่ 1 เม.ย. และ 1 ต.ค. ของทุกปี) ยกเว้นกรณีมีความจำเป็นเร่งด่วนมิอาจเลี่ยงได้ 
         หมายเหตุ ข้อ 3 และข้อ 4 กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร จะมีหนังสือแนวทางปฏิบัติให้กับหน่วยงานอีกครั้งหนึ่ง
  5. มาตรการสนับสนุนเป็นมาตรการที่กำหนดขึ้นเพื่อให้หน่วยงานมีการใช้กำลังคนอย่างมีประสิทธิภาพ มียุทธศาสตร์ในการดำเนินการ 3 ยุทธศาสตร์ คือ
  6. การทบทวนภารกิจ การตรวจสอบการใช้ตำแหน่งและการจัดอัตรากำลังให้เหมาะสมสอดคล้องกับภารกิจ 
         2. การนำหลักสมรรถนะไปใช้ในกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล
         3. การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติราชการด้วยมาตรการจูงใจ

     การดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนมีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้

แนวทางการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553

ยุทธศาสตร์

  1. การทบทวนภารกิจการตรวจสอบการใช้ตำแหน่งและการจัดอัตรากำลังให้เหมาะสม โดยมีมาตรการดังนี้
              – ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครที่ซ้ำซ้อนกันให้ชัดเจน 
              – ศึกษาปัญหาและแนวทางการถ่ายโอนภารกิจจากสำนักไปสำนักงานเขต 
              – ศึกษาหน้าที่ความรับผิดชอบรายตำแหน่งของแต่ละหน่วยงาน
              – ตรวจสอบการใช้ตำแหน่งสำหรับตำแหน่งว่างที่เกิดจากการเกษียณอายุหรือกรณีอื่น ๆ 
              – ตรวจสอบการใช้ตำแหน่งของหน่วยงาน 
         หมายเหตุ สำนักงาน ก.ก. จะมีหนังสือแจ้งแนวทางปฏิบัติกับหน่วยงานอีกครั้งหนึ่ง
  2. การนำหลักสมรรถนะไปใช้ในกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล โดยมีมาตรการดังนี้ 
              – กำหนดให้สำนักงาน ก.ก. นำหลักสมรรถนะมาใช้ในกระบวนการสรรหาบุคคล ขึ้นตอนการสอบ สัมภาษณ์โดยกำหนดหลักเกณฑ์การให้คะแนนและการกำหนดสัดส่วนของคะแนนอย่างชัดเจน 
              – การกำหนดลักเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลเพื่อเลื่อนระดับ โดยนำหลักสมรรถนะเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินและนำมาใช้ใน ขั้นตอนการประเมินคุณลักษณะจากผู้บังคับบัญชา 
              – กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินสมรรถนะในการสัมภาษณ์ขั้นตอนการสอบคัดเลือก โดยกำหนดหลักเกณฑ์อย่างชัดเจน
              – การคัดเลือกบุคคลเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงขึ้นตั้งแต่ระดับ 7 ขึ้นไปควรกำหนดให้การประเมิน สมรรถนะเป็นองค์ประกอบที่ใช้ในการคัดเลือกด้วย
              – จัดตั้งศูนย์รวมองค์ความรู้ของหน่วยงานแต่ละหน่วยงาน เพื่อเป็นแหล่งรวมในการพัฒนาตนเองและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างข้าราชการในหน่วยงาน

แนวทางการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554

ยุทธศาสตร์

  1. การนำหลักสมรรถนะไปใช้ในการกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล โดยมีมาตรการดังนี้
              – นำหลักสมรรถนะไปใช้ในการประเมินศักยภาพของผู้ใต้บังคับบัญชา 
              – นำหลักสมรรถนะมาใช้เพื่อจัดทำกรอบการพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพในทุกสายงานของกรุงเทพมหานคร 
              – จัดตั้งศูนย์รวมองค์ความรู้ของหน่วยงานแต่ละหน่วยงาน เพื่อเป็นแหล่งรวมในการพัฒนาตนเองและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างข้าราชการในหน่วยงาน 
  2. การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติราชการด้วยมาตรการจูงใจ โดยมีมาตรการดังนี้
              – จัดสรรสิ่งจูงใจให้กับหน่วยงานที่มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการภายในที่มีประสิทธิภาพ โดยไม่เพิ่มกำลังคน 
              – จัดทำแผนกำลังคนระดับหน่วยงานเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการภายใต้ยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน