- ไม่พบข้อมูล
- ไม่พบข้อมูล
- ไม่พบข้อมูล
- คำถาม: กรณีถึงแก่กรรม โดยก่อนถึงแก่กรรมได้ลาป่วยรักษาตัวเป็นระยะเวลานานไม่ว่าคราวเดียวหรือหลายคราว
ลูกจ้างประจำถึงแก่กรรม โดยมีระยะเวลาการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 6 เดือน โดยขณะมีชีวิตได้ลาป่วยเป็นจำนวนรวม 188 วัน ซึ่งเป็นการลารักษาตัวเป็นช่วงระยะเวลาไม่ติดต่อกัน ลูกจ้างประจำจะมีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปี หรือไม่- คำตอบ: ตามแนวทางการจ่ายเงินรางวัลประจำปีระดับบุคคลของลูกจ้างประจำกรุงเทพมหานครข้อ 6.2 การลาป่วยที่ต้องรักษาตัวเป็นระยะเวลานานไม่ว่าคราวเดียวหรือหลายคราวรวมกันไม่เกินหกสิบวันทำการ (ปลัดกรุงเทพมหานครอนุญาตให้ลาต่อได้) ให้นำระยะเวลาดังกล่าวมาคำนวณเงินรางวัลได้ โดยถ้าจำนวนวันลาป่วยดังกล่าวได้รับอนุมัติจากปลัดกรุงเทพมหานครสามารถนำระยะเวลาการลาดังกล่าวมาคำนวณเงินรางวัลได้ แต่ในกรณีนี้ลูกจ้างประจำได้ถึงแก่กรรมก่อนสิ้นปีงบประมาณ แต่มีระยะเวลาการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 6 เดือน ดังนั้นลูกจ้างประจำผู้นั้น จะได้เงินรางวัลตามอัตราส่วนของระยะเวลาที่ปฏิบัติงานจริงกับกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ให้ใช้เงินเดือน ณ วันที่ถึงแก่กรรมมาเป็นฐานในการคำนวณเงินรางวัล
- ไม่พบข้อมูล
- การศึกษา
- ไม่พบข้อมูล
- การฝึกอบรมดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย
- ไม่พบข้อมูล
- การลาป่วย
- คำถาม: กรณีลาป่วยรักษาตัวเป็นระยะเวลานานไม่ว่าคราวเดียวหรือหลายคราวและถึงแก่กรรม
ลูกจ้างประจำถึงแก่กรรม โดยมีระยะเวลาการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 6 เดือน โดยขณะมีชีวิตได้ลาป่วยเป็นจำนวนรวม 188 วัน ซึ่งเป็นการลารักษาตัวเป็นช่วงระยะเวลาไม่ติดต่อกัน ลูกจ้างประจำจะมีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีหรือไม่- คำตอบ: ตามแนวทางการจ่ายเงินรางวัลประจำปีระดับบุคคลของลูกจ้างประจำกรุงเทพมหานครข้อ 6.2 การลาป่วยที่ต้องรักษาตัวเป็นระยะเวลานานไม่ว่าคราวเดียวหรือหลายคราวรวมกันไม่เกินหกสิบวันทำการ (ปลัดกรุงเทพมหานครอนุญาตให้ลาต่อได้) ให้นำระยะเวลาดังกล่าวมาคำนวณเงินรางวัลได้ โดยถ้าจำนวนวันลาป่วยดังกล่าวได้รับอนุมัติจากปลัดกรุงเทพมหานครสามารถนำระยะเวลาการลาดังกล่าวมาคำนวณเงินรางวัลได้ แต่ในกรณีนี้ลูกจ้างประจำได้ถึงแก่กรรมก่อนสิ้นปีงบประมาณ แต่มีระยะเวลาการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 6 เดือน ดังนั้นลูกจ้างประจำผู้นั้น จะได้เงินรางวัลตามอัตราส่วนของระยะเวลาที่ปฏิบัติงานจริงกับกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ให้ใช้เงินเดือน ณ วันที่ถึงแก่กรรมมาเป็นฐานในการคำนวณเงินรางวัล
- คำถาม: กรณีลาป่วยรักษาตัวเป็นระยะเวลานานไม่ว่าคราวเดียวหรือหลายคราวและถึงแก่กรรม
- การลากิจ
- ไม่พบข้อมูล
- การลาคลอดบุตร/การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
- ไม่พบข้อมูล
- การลาอุปสมบท/ลาไปประกอบพิธีฮัจย์
- ไม่พบข้อมูล
- การลาติดตามคู่สมรสไปต่างประเทศ
- ไม่พบข้อมูล
- ไม่พบข้อมูล
- ไม่พบข้อมูล
- ไม่พบข้อมูล
- คำถาม: กรณีถูกลงโทษไล่ออกและได้คืนสถานะกลับเข้ารับราชการ
ลูกจ้างประจำถูกลงโทษไล่ออกจากราชการ กรณีละทิ้งหน้าที่ราชการตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2550 เนื่องจากละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเกินกว่า 15 วัน ต่อมาลูกจ้างประจำรายดังกล่าวได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษและปลัดกรุงเทพมหานครได้โปรดสั่งการให้สำนักงานเขตต้นสังกัด ยกโทษคำสั่งไล่ออก สำนักงานเขตจึงได้มีคำสั่งยกโทษและให้กลับเข้ารับราชการมีผลให้ลูกจ้างประจำรายดังกล่าวกลับคืนสถานะเดิมตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นมา แต่ลูกจ้างประจำรายดังกล่าวมิได้อยู่ปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2550 จนถึงวัปัจจุบัน (ปีงบประมาณ 2552) ขอหารือว่าลูกจ้างประจำรายดังกล่าวมีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 – 2552 หรือไม่- คำตอบ: 1. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ลูกจ้างประจำรายดังกล่าวมีระยะเวลาการปฏิบัติราชการจนถึงวันที่ 27 กรกฎาคม 2550 เนื่องจากถูกไล่ออกจากราชการ แต่ภายหลังปรากฎว่าได้มีคำสั่งสำนักงานเขต ยกโทษและให้ลูกจ้างประจำกลับเข้ารับราชการ โดยมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2550 จึงมีผลให้ลูกจ้างประจำมีสถานะภาพเดิมคือเป็นลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ 27 กรกฎาคม 2550 จึงมีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ตามอัตราที่กำหนดและระยะเวลาที่อยู่ปฏิบัติงานจริง ทั้งนี้ ต้องมีผลการประเมินตามแบบประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการพลเรือนสามัญหรือลูกจ้างในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 อย่างน้อย 1 รอบ (กรณีข้าราชการหรือลูกจ้างประจำอยู่ระหว่างพิจารณาโทษทางวัย หน่วยงานควรชะลอการจ่ายเงินรางวัลไว้ก่อน จนกว่าผลการพิจารณาจะยุติ)
2. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 – 2552 แม้จะมีสถานะเป็นลูกจ้างประจำต่อเนื่องแต่มิได้อยู่ปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2550 จนถึงวันกลับเข้ารับราชการ จึงไม่มีผลการประเมินการปฏิบัติราชการ จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
- คำตอบ: 1. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ลูกจ้างประจำรายดังกล่าวมีระยะเวลาการปฏิบัติราชการจนถึงวันที่ 27 กรกฎาคม 2550 เนื่องจากถูกไล่ออกจากราชการ แต่ภายหลังปรากฎว่าได้มีคำสั่งสำนักงานเขต ยกโทษและให้ลูกจ้างประจำกลับเข้ารับราชการ โดยมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2550 จึงมีผลให้ลูกจ้างประจำมีสถานะภาพเดิมคือเป็นลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ 27 กรกฎาคม 2550 จึงมีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ตามอัตราที่กำหนดและระยะเวลาที่อยู่ปฏิบัติงานจริง ทั้งนี้ ต้องมีผลการประเมินตามแบบประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการพลเรือนสามัญหรือลูกจ้างในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 อย่างน้อย 1 รอบ (กรณีข้าราชการหรือลูกจ้างประจำอยู่ระหว่างพิจารณาโทษทางวัย หน่วยงานควรชะลอการจ่ายเงินรางวัลไว้ก่อน จนกว่าผลการพิจารณาจะยุติ)
- คำถาม: กรณีถูกดำเนินการทางวินัยลงโทษไล่ออก เนื่องจากขาดงานเกินกว่า 15 วัน
ลูกจ้างประจำถูกดำเนินการทางวินัยลงโทษไล่ออกจากราชการ ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2555 เนื่องจากไม่มาปฏิบัติหน้าที่ราชการเกินกว่า 15 วัน มีผลการประเมิน 1 รอบการประเมิน มีช่วงเวลาที่ปฏิบัติงานจริง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2555 จะได้รับเงินรางวัลประจำปีหรือไม่- คำตอบ: ลูกจ้างประจำถูกดำเนินการทางวินัยโดยลงโทษให้ออกจากราชการ ไม่สามารถรับเงินรางวัลประจำปี ฯ ตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข การเบิกจ่ายเงินรางวัลประจำปีให้แก่ลูกจ้างกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2557 ข้อ 5.1.3 “ลูกจ้างประจำซึ่งยังรับราชการอยู่ในวันที่ 30 กันยายน ของแต่ละปีให้ได้รับเงินรางวัลประจำปีตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามระเบียบนี้ ยกเว้นกรณีที่ลูกจ้างประจำผู้ใดลาออกตาย หรือโอนไปรับราชการในหน่วยงานอื่นของรัฐ…” แต่ลูกจ้างประจำรายนี้ได้รับการลงโทษไล่ออกจากราชการก่อนวันที่ 30 กันยายน 2555 จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555
- ไม่พบข้อมูล
- ไม่พบข้อมูล
- ไม่พบข้อมูล
- คำถาม : กรณีข้าราชการลาออกข้าราชการได้ยื่นใบลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 และมีผลทำให้ไม่ได้รับเงินรางวัลประจำปี จะมีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีหรือไม่
- คำตอบ: ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินรางวัลฯ พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2555 ข้อ 10 กำหนดให้ “ข้าราชการและลูกจ้างประจำผู้ได้รับเงินรางวัลประจำปีต้องรับราชการกรุงเทพมหานครอยู่ในวันที่ 30 กันยายนของแต่ละปี ยกเว้นข้าราชการผู้นั้นลาออก ตาย หรือโอนไปรับราชการในส่วนราชการอื่น โดยมีระยะเวลาในการปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่า 6 เดือน จะมีสิทธิได้รับเงินรางวัลตามอัตราส่วนของระยะเวลาที่อยู่ปฏิบัติงานจริงกับกรุงเทพมหานคร
- ไม่พบข้อมูล
- คำถาม: กรณีข้าราชการเสียชีวิต ในระหว่างปี โดยมีระยะเวลาการปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่า 6 เดือน ทายาทสามารถเบิกเงินรางวัลประจำปีได้หรือไม่
- คำตอบ: ทายาทสามารถเบิกจ่ายเงินรางวัลของผู้ถึงแก่กรรมได้ ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
- ไม่พบข้อมูล
- ไม่พบข้อมูล
- การศึกษา
- คำถาม: ข้าราชการได้รับการอนุมัติจากรุงเทพมหานครให้เดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ประเทศเกาหลี ระหว่างวันที่ 2 สิงหาคม 2558 ถึงวันที่ 1 กันยายน 2559 จำนวน 2 ราย โดยมีการรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 และวันที่ 26 สิงหาคม 2559 ตามลำดับ มีผลการประเมินตามแบบประเมินฯ ในระยะเวลาที่ปฏิบัติราชการจริงจำนวน 30 วัน และ 35 วัน จะถือได้ว่าเป็นผลการประเมินอย่างน้อย 1 รอบ ตามที่กำหนดไว้ในแนวทางการจ่ายเงินรางวัลหรือไม่
- ตอบ: ให้การพิจารณารอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการใช้หลักเกณฑ์เดียวกับ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. 2552 กล่าวคือ 1 รอบการประเมินจะต้องมีระยะเวลาการปฏิบัติราชการ 6 เดือน หรือไม่น้อยกว่า 4 เดือน
- คำถาม: ข้าราชการได้รับการอนุมัติจากรุงเทพมหานครให้เดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ประเทศเกาหลี ระหว่างวันที่ 2 สิงหาคม 2558 ถึงวันที่ 1 กันยายน 2559 จำนวน 2 ราย โดยมีการรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 และวันที่ 26 สิงหาคม 2559 ตามลำดับ มีผลการประเมินตามแบบประเมินฯ ในระยะเวลาที่ปฏิบัติราชการจริงจำนวน 30 วัน และ 35 วัน จะถือได้ว่าเป็นผลการประเมินอย่างน้อย 1 รอบ ตามที่กำหนดไว้ในแนวทางการจ่ายเงินรางวัลหรือไม่
- การฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติวิจัย
- ไม่พบข้อมุล
- การลาป่วย
- คำถาม: กรณีลาป่วยเกิน 60 วันทำการ (ได้รับอนุญาตจากปลัดกรุงเทพมหานคร) และได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ
ข้าราชการได้รับอนุมัติจากปลัดกรุงเทพมหานครให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาป่วยในส่วนที่เกิน 60 วันทำการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ดังนี้
1. ครั้งที่ 1 วันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 รวม 102 วัน (70 วันทำการ) และได้รับเงินเดือนระหว่างการลาในส่วนที่เกิน 60 วันทำการ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 รวม 22 วัน ( 16 วันทำการ)
2. ครั้งที่ 2 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 ถึงวันที่ 5 เมษายน 2561 รวม 42 วัน (29 วันทำการ) และได้รับเงินเดือนระหว่างการลาในส่วนที่เกิน 60 วันทำการ ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 ถึงวันที่ 5 เมษายน 2561 รวม 42 วัน (29 วันทำการ)
3. ครั้งที่ 3 วันที่ 3 พฤษภาคม 2561 ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2561 รวม 22 วัน ( 15 วันทำการ) และได้รับเงินเดือนระหว่างการลาในส่วนที่เกิน 60 วันทำการ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2561 ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2561 รวม 22 วัน (15 วันทำการ) โดยมีคะแนนผลการปฏิบัติราชการตามแบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน 1 รอบ ( 1 ตุลาคม 2560 – 31 มีนาคม 2561) เท่ากับ 95 คะแนน และได้รับอนุมัติให้ลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2561 จะเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 หรือไม่ และหากมีสิทธิฯ จะได้รับเงินรางวัลเป็นจำนวนเงินเท่าใด- คำตอบ: 1) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินรางวัลฯ ให้บุคลากรได้รับรางวัลตามระดับโดยพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานในรอบปีงบประมาณ สำหรับแนวทางการจ่ายเงินรางวัลฯ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการจัดสรรเงินรางวัลกำหนด สำหรับการจ่ายเงินรางวัลสำหรับข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ใช้สิทธิการลาประเภทต่าง ๆ ตามแนวทางการจ่ายเงินรางวัลระดับบุคคลฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 กำหนดหลักเกณฑ์ข้าราชการกรุงเทพมหานครต้องมีผลการประเมินอย่างน้อย 1 รอบ (1 รอบการประเมิน จะต้องมีระยะเวลาการปฏิบัติราชการ 6 เดือน หรือไม่น้อยกว่า 4 เดือน) และหากลาเกินสิทธิระเบียบฯ การลา จะไม่สามารถนำระยะเวลาที่ลาเกินสิทธิมาคำนวณเงินรางวัลได้ ซึ่งแนวทางดังกล่าว ใช้สำหรับข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติราชการครบรอบปีงบประมาณ
2) กรณีข้าราชการรายดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2561 ซึ่งตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินรางวัลฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 ข้อ 10 ได้ยกเว้นกรณีข้าราชการกรุงเทพมหานครลาออกจากราชการโดยมีระยะเวลาในการปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่าหกเดือน ให้ได้รับเงินรางวัลตามอัตราส่วนของระยะเวลาที่ได้ปฏิบัติงานจริง และแนวทางการจ่ายเงินรางวัลระดับบุคคลฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ข้อ 2 กำหนดให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ลาออกจากราชการโดยมีระยะเวลาในการปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่า 6 เดือน ให้ได้รับเงินรางวัลประจำปีตามอัตราส่วนของระยะเวลาที่ปฏิบัติงานจริงกับกรุงเทพมหานคร ดังนั้น ควรพิจารณาแนวทางการจ่ายเงินรางวัลฯ ในข้อ 2 เป็นประเด็นแรก ส่วนประเด็นถัดมาเป็นระยะเวลาที่ลาป่วยระหว่างปฏิบัติราชการ ว่าเป็นการลาตามสิทธิหรือไม่เพื่อจะนำมาเป็นฐานในการคำนวณเงินรางวัลฯ
3) แนวทางการจ่ายเงินรางวัลระดับบุคคลฯ ประจำปีงบประมาณ 2561 ข้อ 8.1 ข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ลาป่วยต่อจากระเบียบการลา (ปลัดกรุงเทพมหานครอนุญาตให้ลาต่อได้) และมีผลการประเมินการปฏิบัติราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญรอบที่ 1 ( 1 ตุลาคม 2560 – 31 มีนาคม 2561) เท่ากับ 95 คะแนน ดังนั้น ข้าราชการรายนี้จึงมีสิทธิได้รับเงินรางวัลโดยสามารถนับรวมจำนวนวันลาป่วยต่อจากระเบียบการลา (ปลัดกรุงเทพมหานครอนุญาตให้ลาต่อได้) มาใช้ในการคำนวณเงินรางวัล ตามระยะเวลาที่อยู่ปฏิบัติงานจริงกับกรุงเทพมหานคร (อนุมัติให้ลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2561) และใช้เงินเดือน ณ วันที่ลาออกเป็นฐานในการคำนวณ
- คำตอบ: 1) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินรางวัลฯ ให้บุคลากรได้รับรางวัลตามระดับโดยพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานในรอบปีงบประมาณ สำหรับแนวทางการจ่ายเงินรางวัลฯ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการจัดสรรเงินรางวัลกำหนด สำหรับการจ่ายเงินรางวัลสำหรับข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ใช้สิทธิการลาประเภทต่าง ๆ ตามแนวทางการจ่ายเงินรางวัลระดับบุคคลฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 กำหนดหลักเกณฑ์ข้าราชการกรุงเทพมหานครต้องมีผลการประเมินอย่างน้อย 1 รอบ (1 รอบการประเมิน จะต้องมีระยะเวลาการปฏิบัติราชการ 6 เดือน หรือไม่น้อยกว่า 4 เดือน) และหากลาเกินสิทธิระเบียบฯ การลา จะไม่สามารถนำระยะเวลาที่ลาเกินสิทธิมาคำนวณเงินรางวัลได้ ซึ่งแนวทางดังกล่าว ใช้สำหรับข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติราชการครบรอบปีงบประมาณ
- คำถาม: กรณีลาป่วยเกิน 60 วันทำการ (ได้รับอนุญาตจากปลัดกรุงเทพมหานคร) และได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ
- ไม่พบข้อมูล
- ไม่พบข้อมูล
- ไม่พบข้อมูล
- ไม่พบข้อมูล
- คำถาม: กรณีข้าราชการขาดราชการ
ข้าราชการครูขาดราชการตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2553 – 14 ตุลาคม 2553 รวม 22 วัน และกลับมาปฏิบัติราชการเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2553 ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาโทษทางวินัยของสำนักการศึกษา การเบิกจ่ายเงินรางวัลจะต้องหักจำนวนวันที่ข้าราชการรายดังกล่าวละทิ้งหน้าที่ราชการด้วยหรือไม่ (มีผลการประเมินบุคคลในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 จำนวน 2 รอบ)- คำตอบ: กรณีข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่ได้รับโทษทางวินัยหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาทางวินัยให้จ่ายเงินรางวัลได้ ทั้งนี้ ต้องมีผลการประเมินบุคคลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 อย่างน้อย 1 รอบ และให้คำนวณเงินรางวัลตามระยะเวลาที่อยู่ปฏิบัติงานจริงกับกรุงเทพมหานคร ซึ่งกรณีของข้าราชการรายดังล่าวขาดราชการรวม 22 วัน และอยู่ระหว่างการพิจารณาโทษทางวินัย เมื่อมีผลการประเมินบุคคลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 อย่างน้อย
1 รอบ ก็สามารถจ่ายเงินรางวัลประจำปีได้ตามแนวทางการจ่ายเงินรางวัลระดับบุคคลของข้าราชการและลูกจ้างประจำกรุงเทพมหานครประจำปี พ.ศ. 2553 ทั้งนี้ ให้สำนักงานเขตจ่ายเงินรางวัลให้แก่ข้าราชการรายดังกล่าว โดยคำนวณเงินรางวัลตามระยะเวลาที่อยู่ปฏิบัติงานจริง และให้ชะลอการจ่ายเงินรางวัลในช่วงเวลาที่มีการขาดราชการรวม 22 วันไว้ก่อน จนกว่าผลการพิจารณาจะแล้วเสร็จ และหากผลการสอบสวนฟังได้ว่าเป็นการหยุดราชการโดยมีเหตุอันสมควรจึงให้จ่ายเงินรางวัลประจำปีเพิ่มเติมในช่วงเวลาดังกล่าวต่อไป
- คำตอบ: กรณีข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่ได้รับโทษทางวินัยหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาทางวินัยให้จ่ายเงินรางวัลได้ ทั้งนี้ ต้องมีผลการประเมินบุคคลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 อย่างน้อย 1 รอบ และให้คำนวณเงินรางวัลตามระยะเวลาที่อยู่ปฏิบัติงานจริงกับกรุงเทพมหานคร ซึ่งกรณีของข้าราชการรายดังล่าวขาดราชการรวม 22 วัน และอยู่ระหว่างการพิจารณาโทษทางวินัย เมื่อมีผลการประเมินบุคคลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 อย่างน้อย
- คำถาม: กรณีผิดวินัยจากการละทิ้งราชการเกิน 15 วัน
ข้าราชการถูกดำเนินการทางวินัยกรณีละทิ้งหน้าที่ราชการเกิน 15 วัน กรณียังไม่ถึงที่สุด มีผลการประเมินระดับบุคคล 1 รอบการประเมิน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2555 มีช่วงเวลาที่ปฏิบัติงานจริง ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2554 ถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2555 จะมีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีหรือไม่- คำตอบ: ข้าราชการถูกดำเนินการทางวินัยกรณีละทิ้งหน้าที่ราชการเกิน 15 วัน กรณียังไม่ถึงที่สุด แต่มีผลการประเมินระดับบุคคล 1 รอบการประเมิน (1 ตุลาคม 2554 – 31 มีนาคม 2555) กรณีนี้หน่วยงานควรชะลอการจ่ายเงินรางวัลประจำปีฯ จนกว่าผลการพิจารณาจะถึงที่สุดว่าจะได้รับโทษทางวินัยในระดับใด เพราะถ้าข้าราชการรายนี้ละทิ้งหน้าที่ราชการเกิน 15 วัน อาจได้รับโทษปลดออกหรือไล่ออก ก็ไม่สามารถจ่ายเงินรางวัลประจำปีฯ ได้
- คำถาม: กรณีข้าราชการถูกลงโทษทางวินัยให้ปลดออกจากราชการ
กรณีข้าราชการถูกลงโทษทางวินัยให้ปลดออกจากราชการ ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2557 จะมิสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีหรือไม่- คำตอบ: ข้าราชการที่ได้รับโทษทางวินัยหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาทางวินัยสามารถได้รับเงินรางวัลประจำปีได้ตามระยะเวลาที่อยู่ปฏิบัติงานจริงกับกรุงเทพมหานครตามแนวทางการจ่ายเงินรางวัลฯ ข้อ 12 การดำเนินการทางวินัย ที่ระบุว่า “ข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ได้รับโทษทางวินัย หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาทางวินัยให้จ่ายเงินรางวัลได้ ตามระยะเวลาที่อยู่ปฏิบัติงานจริงกับกรุงเทพมหานคร” แต่หากข้าราชการผู้นั้นได้รับโทษทางวินัยร้ายแรงถึงขั้นมีผลให้ไม่ได้รับราชการอยู่ ณ วันที่ 30 กันยายนของแต่ละปี เช่น การไล่ออก หรือปลดออก จะไม่ได้รับเงินรางวัลประจำปี เนื่องจากผู้ออกจากราชการก่อน 30 กันยายนของแต่ละปี จะยกเว้นให้เฉพาะกรณีข้าราชการผู้นั้นลาออก ตาย หรือโอนไปรับราชการในส่วนราชการอื่น โดยมีระยะเวลาในการปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่า 6 เดือนเท่านั้น ให้ได้รับเงินรางวัลประจำปีตามอัตราส่วนระยะเวลาที่ได้ปฏิบัติงานจริง ดังนั้น ข้าราชการรายนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปี เพราะได้รับการลงโทษปลดออกจากราชการ ตั้แต่วันที่ 23 มิถุนายน 2557 ส่งผลให้ไม่มีสถานภาพเป็นข้าราชการอยู่ในวันที่ 30 กันยายน 2557
- คำถาม: กรณีข้าราชการได้รับโทษจำคุก
ข้าราชการครู ได้รับโทษจำคุกตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2560 กำหนดพ้นโทษวันที่ 18 พฤศจิกายน 2560 อยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาโทษทางวินัย จากสำนักงาน ก.ก. สามารถจ่ายเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ได้หรือไม่- คำตอบ: ข้าราชการครูรายดังกล่าวมีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีตามระยะเวลาที่อยู่ปฏิบัติงานจริงในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 แต่หากการพิจารณาทางวินัยสิ้นสุด และได้รับโทษทางวินัยร้ายแรงให้ปลดออกหรือไล่ออก โดยมีผลย้อนหลังไปในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 จะไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
- คำถาม: กรณีข้าราชการถูกตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรง
ข้าราชการบำนาญ (เกษียณอายุราชการในวันที่ 1 ตุลาคม 2561) ถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรง และหน่วยงานได้ประสานกับส่วนวินัยและคดี สำนักงานการเจ้าหน้าที่ ได้รับแจ้งว่าเรื่องอยู่ระหว่างพิจารณาทางวินัยสามารถรับเงินรางวัลประจำปีได้หรือไม่- คำตอบ: ตามแนวทางการจ่ายเงินรางวัลประจำปี กำหนดให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ได้รับโทษทางวินัยหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาทางวินัยให้จ่ายเงินรางวัลได้ โดยให้คำนวณเงินรางวัลตามระยะเวลาที่อยู่ปฏิบัติงานจริงกับกรุงเทพมหานคร ยกเว้นได้รับโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง จะไม่ได้รับเงินรางวัลประจำปี ข้าราชการรายดังกล่าวจึงมีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีตามระยะเวลาที่อยู่ปฏิบัติงานจริงในปีงบประมาณนั้น ๆ แต่หากการพิจารณาทางวินัยสิ้นสุด และได้รับโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงให้ปลดออกหรือไล่ออกโดยมีผลย้อนหลังไปในปีงบประมาณจะต้องคืนเงินรางวัลให้กรุงเทพมหานคร
- คำถาม: ลูกจ้างชั่วคราวได้รับการจ้างและแต่งตั้งเป็นลูกจ้างประจำในระหว่างปีงบประมาณ
ลูกจ้างชั่วคราวได้รับการจ้างและแต่งตั้งเป็นลูกจ้างประจำในระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556 ถึงวันที่ 17 มิถุนายน 2556 และวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 ควรได้รับเงินรางวัลเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้อง เป็นธรรม และเกิดความเสมอภาคแก่ลูกจ้างชั่วคราวกรุงเทพมหานคร- คำตอบ: ลูกจ้างชั่วคราวมีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีตามสัดส่วนของระยะเวลาการเป็นลูกจ้างชั่วคราวและลูกจ้างประจำตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการเบิกจ่ายเงินรางวัลประจำปีให้แก่ลูกจ้างกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2557 ข้อ 6 กรณีลูกจ้างชั่วคราวได้รับการจ้างและแต่งตั้งเป็นลูกจ้างประจำในระหว่างปีงบประมาณให้ได้รับเงินรางวัลประจำปีตามสัดส่วนของระยะเวลาการเป็นลูกจ้างชั่วคราวและลูกจ้างประจำ
- คำถาม: ลูกจ้างชั่วคราวได้บรรจุเป็นลูกจ้างประจำ
ลูกจ้างชั่วคราวได้รับการแต่งตั้งเป็นลูกจ้างชั่วคราวตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561 และได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นลูกจ้างประจำตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2561 และต่อมาได้พ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างประจำ เนื่องจากได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2561 มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 หรือไม่ โดยจะได้รับเงินรางวัลทั้งส่วนที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวและลูกจ้างประจำหรือไม่- คำตอบ: ลูกจ้างรายดังกล่าว ไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีทั้งในส่วนที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวและลูกจ้างประจำ เนื่องจากเป็นลูกจ้างชั่วคราวไม่ครบปีงบประมาณเพราะได้รับการจ้างและแต่งตั้งเป็นลูกจ้างประจำ ซึ่งต่อมาได้พ้นจากสภาพการเป็นลูกจ้างประจำ ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2561 เนื่องจากลาออกจากราชการ ส่งผลให้มีระยะเวลาการเป็นลูกจ้างประจำน้อยกว่าหกเดือน จึงมีคุณสมบัติไม่ตรงกับผู้มีสิทธิได้รับเงินรางวัลตามข้อ 5.1.3 ข้อ 5.2.1 ข้อ 5.2.3 และ ข้อ 6 แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการเบิกจ่ายเงินรางวัลประจำปีให้แก่ลูกจ้างกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2557
- คำถาม: ลูกจ้างชั่วคราวได้บรรจุเป็นข้าราชการ
ข้าราชการผู้เคยปฏิบัติงานเป็นลูกจ้างกรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2551 ถึงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2557 โดยมีรายละเอียดและระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ดังนี้
1. เป็นลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่งพนักงานทั่วไป (กวาด) บ.1 สังกัดฝ่ายรักษาความสะอาดฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 ถึงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2557 รวมระยะเวลา 4 เดือน 27 วัน
2. เป็นลูกจ้างประจำ ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 24 เมษายน 2557 รวมระยะเวลา 1 เดือน 28 วัน
3. เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2557 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2557 รวมระยะเวลา 5 เดือน 6 วัน
ข้าราชการรายดังกล่าวจะมีสิทธิได้รับเงินรางวัลในขณะเป็นลูกจ้างชั่วคราวและลูกจ้างประจำหรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจในการปฏิบัติงาน เนื่องจากปฏิบัติงานกับกรุงเทพมหานครมาไม่น้อยกว่า 5 ปี- คำตอบ: ลูกจ้างรายดังกล่าว ไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีทั้งในส่วนที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวและลูกจ้างประจำ เนื่องจากเป็นลูกจ้างชั่วคราวไม่ครบปีงบประมาณเพราะได้รับการจ้างและแต่งตั้งเป็นลูกจ้างประจำ ซึ่งต่อมาได้พ้นจากสภาพการเป็นลูกจ้างประจำ ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2561 เนื่องจากลาออกจากราชการ ส่งผลให้มีระยะเวลาการเป็นลูกจ้างประจำน้อยกว่าหกเดือน จึงมีคุณสมบัติไม่ตรงกับผู้มีสิทธิได้รับเงินรางวัลตามข้อ 5.1.3 ข้อ 5.2.1 ข้อ 5.2.3 และ ข้อ 6 แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการเบิกจ่ายเงินรางวัลประจำปีให้แก่ลูกจ้างกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2557
- คำถาม: ลูกจ้างชั่วคราวได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ
ลูกจ้างชั่วคราวปฏิบัติงานตามโครงการสนับสนุนการปฏิบัติงาน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2556 รวมระยะเวลา 10 เดือน 4 วัน และได้รับการบรรจุเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2556 จนถึงปัจจุบัน มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปี หรือไม่- คำตอบ: ไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีเนื่องจากมีระยะเวลาการปฏิบัติงานขณะเป็นลูกจ้างชั่วคราวเพียง 10 เดือน 4 วัน (ลาออกเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2556) จึงไม่มีสถานภาพเป็นลูกจ้าง
ชั่วคราว อยู่ในวันที่ 30 กันยายน 2556 จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การเบิกจ่ายเงินรางวัลประจำปีให้แก่ลูกจ้างกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2557 ข้อ 5.2.1 และ 5.2.3
- คำตอบ: ไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีเนื่องจากมีระยะเวลาการปฏิบัติงานขณะเป็นลูกจ้างชั่วคราวเพียง 10 เดือน 4 วัน (ลาออกเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2556) จึงไม่มีสถานภาพเป็นลูกจ้าง
- คำถาม: กรณีลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่งผู้ชำนาญงาน
การจัดสรรเงินรางวัลลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่งผู้ชำนาญงาน จำนวน 7 ราย ซึ่งเป็นการจ้างตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ลูกจ้าง พ.ศ. 2535 และดำเนินการตามมติคณะทำงานพิจารณากำหนดตำแหน่งและอัตราลูกจ้างในคราวประชุมครั้งที่ 5/2545 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2545 จะมีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปีหรือไม่- คำตอบ: การจัดให้มีเงินรางวัลประจำปีแก่ลูกจ้างกรุงเทพมหานคร มีปัญหาความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง ในตำแหน่งผู้ชำนาญงานว่าเป็นลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่งผู้ชำนาญงาน ซึ่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การให้เงินรางวัลประจำปีแก่ลูกจ้างกรุงเทพมหานครกำหนดให้ลูกจ้างกรุงเทพมหานคร หมายความว่า ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวของกรุงเทพมหานครตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ลูกจ้าง พ.ศ. 2535 ดังนั้น การจ้างและแต่งตั้งผู้ชำนาญงานจึงไม่สิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปี
- คำถาม: ลูกจ้างชั่วคราวเปลี่ยนตำแหน่งในรอบปีงบประมาณ
ลูกจ้างชั่วคราวเปลี่ยนตำแหน่งระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2555 – 30 กันยายน 2556 แต่มีระยะเวลาการจ้างต่อเนื่อง จำนวน 3 คน
รายที่ 1 ได้รับการจ้างและแต่งตั้งเป็นลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่งนักจัดการทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 – 28 กุมภาพันธ์ 2556 และ ตำแหน่งพนักงานทั่วไป บ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2556 – 30 กันยายน 2556
รายที่ 2 ได้รับการจ้างและแต่งตั้งเป็นลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่งพนักงานทั่วไป บ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 – 6 พฤศจิกายน 2555 และ ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ ส 1 ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2555 – 30 กันยายน 2556
รายที่ 3 ได้รับการจ้างและแต่งตั้งเป็นลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่งพนักงานทั่วไป บ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 – 3 มกราคม 2556 และตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ ส 1 ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2556 – 30 กันยายน 2556
ลูกจ้างทั้ง 3 รายจะได้รับเงินรางวัลประจำปีหรือไม่ อย่างไร- คำตอบ: ลูกจ้างชั่วคราวทั้ง 3 ราย มีการเปลี่ยนตำแหน่งในรอบปีงบประมาณแต่มีระยะเวลาการจ้างต่อเนื่อง จึงอยู่ในหลักเกณฑ์ตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข การเบิกจ่ายเงินรางวัลประจำปีให้แก่ลูกจ้างกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2557 ข้อ 5.2 จึงเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปี เนื่องจากมีผลการปฏิบัติงาน 1 ปี โดยมีระยะเวลาการจ้างต่อเนื่องและมีสถานภาพเป็นลูกจ้างชั่วคราวอยู่ในวันที่ 30 กันยายน 2556 โดยการให้ได้รับเงินรางวัลเป็นไปตามระยะเวลาการปฏิบัติงานจริงในแต่ละตำแหน่งและผลการประเมินการปฏิบัติงานในแต่ละที่
- คำถาม: กรณีลูกจ้างชั่วคราวลาออกจากสำนักงานเขตและไปเป็นลูกจ้างสังกัดสำนัก
ลูกจ้างชั่วคราวสังกัดสำนัก ตำแหน่งพนักงานทั่วไป บ 1 ได้รับการจ้างจากสำนักตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 ซึ่งเดิมเป็นลูกจ้างชั่วคราวปฏิบัติงานสำนักงานเขตในตำแหน่งพนักงานทั่วไป (เก็บขนมูลฝอย) บ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2559 อนุญาตให้ลาออกจากราชการ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 แต่ได้มีการลงลายมือชื่อปฏิบัติงานในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 ลูกจ้างชั่วคราวรายดังกล่าวจะมีสิทธิได้รับเงินรางวัลหรือไม่- คำตอบ: ตามคำสั่งสำนักงานเขตอนุญาตให้ลูกจ้างชั่วคราวออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 หมายความว่า วันสุดท้ายที่ลูกจ้างรายดังกล่าวปฏิบัติงาน ณ สำนักงนเขต คือวันที่
14 กุมภาพันธ์ 2560 และได้รับการจ้างจากสำนักตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 ตามแนวทางการจ่ายเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ลูกจ้างชั่วคราวรายดังกล่าวจะไม่ได้รับเงินรางวัลประจำปี เนื่องจากมีระยะเวลาการจ้างในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ไม่ต่อเนื่อง (ขาดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560) แต่ตามเอกสารพบว่าลูกจ้างรายดังกล่าวได้มีการลงลายมือชื่อปฏิบัติงานในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 ณ สำนักงานเขตด้วย ซึ่งถ้าลูกจ้างชั่วคราวรายดังกล่าว ปฏิบัติงาน ณ สำนักงานเขตจนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 และได้รับ
การจ้างจากสำนักตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 จะได้รับเงินรางวัลประจำปี เนื่องจากมีระยะเวลาการจ้างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามเอกสารเกี่ยวกับการลงลายมือชื่อปฏิบัติงานจริง ณ สำนักงานเขต และคำสั่งสำนักงานเขต เรื่องอนุญาตให้ลูกจ้างชั่วคราวลาออกจากราชการมีความขัดแย้งกัน ดังนั้น เพื่อให้การจ่ายเงินรางวัลประจำปีของกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีความถูกต้อง เป็นธรรมต่อลูกจ้างชั่วคราวรายดังกล่าว เห็นควรให้สำนัก และสำนักงานเขต ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่องการลงลายมือชื่อปฏิบัติงาน การลาออกจากราชการ และการบรรจุของลูกจ้างชั่วคราวรายดังกล่าว ว่าได้มีผลการปฏิบัติงานกับกรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่า 1 ปี และมีระยะเวลาการจ้างในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ต่อเนื่องหรือไม่ หากมีระยะเวลาการจ้างต่อเนื่องก็จะได้รับการจัดสรรเงินรางวัลประจำปี
- คำตอบ: ตามคำสั่งสำนักงานเขตอนุญาตให้ลูกจ้างชั่วคราวออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 หมายความว่า วันสุดท้ายที่ลูกจ้างรายดังกล่าวปฏิบัติงาน ณ สำนักงนเขต คือวันที่
- คำถาม: ลาออกไปรับราชการสำนักงานเขตอื่นระหว่างปี
ลูกจ้างชั่วคราวลาออกจากเขตหนึ่ง เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2561 และได้ไปปฏิบัติหน้าที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่งเดียวกันอีกเขตหนึ่ง เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2561 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2561 เป็นการจ้างต่อเนื่องหรือไม่ เนื่องจากวันที่ 1 กรกฎาคม 2561 เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์- คำตอบ: ลูกจ้างชั่วคราวลาออกจากเขตหนึ่ง เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2561 และได้ไปปฏิบัติหน้าที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่งเดียวกันอีกเขตหนึ่ง เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2561 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2561 ต่อเนื่องหรือไม่ เนื่องจากวันที่ 1 กรกฎาคม 2561 เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ ตามแนวทางการจ่ายเงินรางวัลประจำงบประมาณ พ.ศ. 2561 ข้อ 1.1 ลูกจ้างที่บรรจุเป็นลูกจ้างชั่วคราวต้องมีสถานภาพการเป็นลูกจ้างชั่วคราวของกรุงเทพมหานคร ไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยมีระยะเวลาการจ้างต่อเนื่องในปีงบประมาณให้จ่ายเงินรางวัลได้ และข้อ 2 การเปลี่ยนตำแหน่งของลูกจ้างชั่วคราวระหว่างปี ลูกจ้างชั่วคราวที่เปลี่ยนตำแหน่งระหว่างปีจะต้องมีระยะเวลาการจ้างต่อเนื่อง และมีสภาพเป็นลูกจ้างชั่วคราวอยู่จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2561 จึงจะได้รับเงินรางวัลประจำปี ซึ่งลูกจ้างชั่วคราวรายดังกล่าว ได้แสดงเจตนาลาออกจากสำนักงานเขตเดิมเพื่อไปประกอบอาชีพอื่นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2561 และได้เข้ารับราชการเป็นลูกจ้างชั่วคราวที่เขตใหม่ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2561 จึงไม่เข้าข่ายเป็นการเปลี่ยนตำแหน่ง และไม่เป็นการจ้างต่อเนื่อง จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปี
- ไม่พบข้อมูล
- การลาป่วย
- คำถาม: กรณีการลาป่วยและลากิจ
ลูกจ้างชั่วคราว มีวันลาป่วยจำนวน 11 วันทำการ และลากิจส่วนตัว จำนวน 7 วันทำการ จะเป็นผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่จะได้รับเงินรางวัลประจำปีหรือไม่- คำตอบ: ลูกจ้างชั่วคราวที่ให้ได้รับเงินรางวัลจะต้องมีวันลาป่วยไม่เกินกว่ากำหนดเท่านั้น (ไม่เกิน 15 วันทำการ) ไม่ได้มีกำหนดเรื่องการลากิจส่วนตัวไว้ ดังนั้นลูกจ้างชั่วคราวรายดังกล่าวจึงมีสิทธิ
ได้รับเงินรางวัลประจำปี เนื่องจากมีจำนวนวันลาป่วยทั้งกรณีปกติ และกรณีต้องรักษาตัวเป็นระยะเวลานาน เพราะต้องเข้ารับการผ่าตัดก้อนเต้านมซ้าย ไม่เกินจำนวนวันที่ได้กำหนดไว้ในหลักเณฑ์ฯ
- คำตอบ: ลูกจ้างชั่วคราวที่ให้ได้รับเงินรางวัลจะต้องมีวันลาป่วยไม่เกินกว่ากำหนดเท่านั้น (ไม่เกิน 15 วันทำการ) ไม่ได้มีกำหนดเรื่องการลากิจส่วนตัวไว้ ดังนั้นลูกจ้างชั่วคราวรายดังกล่าวจึงมีสิทธิ
- คำถาม: กรณีการลาป่วยและลากิจ
- การลากิจ
- คำถาม: ลากิจโดยไม่ได้รับค่าจ้าง
ลูกจ้างชั่วคราวลากิจโดยไม่ได้รับค่าจ้าง มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปี หรือไม่- คำตอบ: ตามแนวทางการจ่ายเงินรางวัลระดับบุคคลลูกจ้างชั่วคราวกรุงเทพมหานครข้อ 4 การลาได้กำหนดเงือนไขการได้รับเงินรางวัลของการลา 3 ประเภท ได้แก่
1) การลาป่วยไม่เกิน 15 วันทำการ จึงจะได้รับเงินรางวัลประจำปี ยกเว้นกรณีที่มีการลาป่วย ซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานานไม่ว่าคราวเดียวกันหรือหลายคราวรวมกันไม่เกิน 60 วันทำการ หรือเป็นกรณีการลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือในการเดินทางกลับจากปฏิบัติหน้าที่กำหนดไม่เกิน 6 เดือน
2) การลาพักผ่อนต้องลาไม่เกิน 10 วันทำการ
3) การลากิจส่วนตัวลาได้ไม่เกิน 15 วันทำการ
4) การลาคลอดไม่เกิน 90 วัน
จึงได้รับเงินรางวัลประจำปี โดยมีหมายเหตุว่าวันลาที่เป็นไปตามสิทธิ สามารถนำมาใช้ในการคำนวณเงินรางวัลได้ ถ้าเกินกว่าสิทธิถือว่าขาดราชการ จะไม่ได้รับเงินรางวัลประจำปี
- คำตอบ: ตามแนวทางการจ่ายเงินรางวัลระดับบุคคลลูกจ้างชั่วคราวกรุงเทพมหานครข้อ 4 การลาได้กำหนดเงือนไขการได้รับเงินรางวัลของการลา 3 ประเภท ได้แก่
- คำถาม: กรณีการลากิจและลาป่วย
ลูกจ้างชั่วคราว มีวันลาป่วยจำนวน 11 วันทำการ และลากิจส่วนตัว จำนวน 7 วันทำการ จะเป็นผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่จะได้รับเงินรางวัลประจำปีหรือไม่- คำตอบ: ลูกจ้างชั่วคราวที่ให้ได้รับเงินรางวัลจะต้องมีวันลาป่วยไม่เกินกว่ากำหนดเท่านั้น (ไม่เกิน 15 วันทำการ) ไม่ได้มีกำหนดเรื่องการลากิจส่วนตัวไว้ ดังนั้นลูกจ้างชั่วคราวรายดังกล่าวจึงมีสิทธิ
ได้รับเงินรางวัลประจำปี เนื่องจากมีจำนวนวันลาป่วยทั้งกรณีปกติ และกรณีต้องรักษาตัวเป็นระยะเวลานาน เพราะต้องเข้ารับการผ่าตัดก้อนเต้านมซ้าย ไม่เกินจำนวนวันที่ได้กำหนดไว้ในหลักเณฑ์ฯ
- คำตอบ: ลูกจ้างชั่วคราวที่ให้ได้รับเงินรางวัลจะต้องมีวันลาป่วยไม่เกินกว่ากำหนดเท่านั้น (ไม่เกิน 15 วันทำการ) ไม่ได้มีกำหนดเรื่องการลากิจส่วนตัวไว้ ดังนั้นลูกจ้างชั่วคราวรายดังกล่าวจึงมีสิทธิ
- คำถาม: ลากิจโดยไม่ได้รับค่าจ้าง
- การลาพักผ่อน
- ไม่พบข้อมูล
- การลาคลอด
- ไม่พบข้อมูล
- การลาอุปสมบท/ลาไปประกอบพิธีฮัจย์
- คำถาม: ลาไปประกอบพิธีฮัจย์
ลูกจ้างชั่วคราวลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอารเบียมีกำหนด 38 วัน ระหว่างวันที่ 6 สิงหาคม 2561 ถึง 12 กันยายน 2561และไม่ได้รับค่าจ้างระหว่างการลาไปประกอบพิธีฮัจย์ มีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปี หรือไม่- คำตอบ: การลาไปประกอบพิธีฮัจย์หากลาไม่เกิน 120 วันทำการ จะมีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปี โดยรวมระยะเวลาการลาไปประกอบพิธีฮัจย์มาคำนวณเงินรางวัลได้ ทั้งนี้ การลาเป็นไปตามประกาศ ก.ก. เรื่องกำหนดเวลาทำงานวันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดของลูกจ้างลงวันที่ 3 ต.ค. 2560
- คำถาม: ลาไปประกอบพิธีฮัจย์
- ไม่พบข้อมูล
- ไม่พบข้อมูล
- ไม่พบข้อมูล
- คำถาม : ขอยกเว้นหลักเกณฑ์การจ่ายเงินรางวัลประจำปี กรณีลูกจ้างปฏิบัติงานไม่ครบ 1 ปี และไม่ต่อเนื่อง
ขอยกเว้นหลักเกณฑ์การจ่ายเงินรางวัลประจำปีแก่ลูกจ้างชั่วคราวกรุงเทพมหานคร โครงการเปิดทางน้ำไหล ขุดลอก คูและคลอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 จำนวน 198 อัตรา จ้างตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 วันที่ 1 มีนาคม 2556 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2556 รวมระยะเวลา 10 เดือน ได้มีหนังสือที่ กท 1006/1492 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2557 ขอยกเว้นหลักเกณฑ์การจ่ายเงินรางวัลประจำปี กรณีต้องปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยมีระยะเวลาการจ้างต่อเนื่อง ทั้งปีเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน- คำตอบ: กรณีดังกล่าวไม่เป็นไปตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการเบิกจ่ายเงินรางวัลประจำปีให้แก่ลูกจ้างกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2557 ข้อ 5.2.1 และ 5.2.3 จึงไม่เห็นควรให้ลูกจ้างชั่วคราวตามโครงการดังกล่าวได้รับการจัดสรรเงินรางวัลประจำปี