คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔ หมวด ๑ คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร มาตรา ๗ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร และบุคลากรกรุงเทพมหานคร” เรียกโดยย่อว่า “ก.ก.”

  1. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ
  2.  กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวนห้าคน ได้แก่ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการ ก.พ.ร. เลขาธิการ ก.ค.ศ. และเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
  3. กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนกรุงเทพมหานคร จำ นวนสี่คน ได้แก่ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย ปลัดกรุงเทพมหานครผู้แทนบุคลากรกรุงเทพมหานครซึ่งคัดเลือกกันเองจำนวนหนึ่งคน และหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
  4. กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครโดยข้าราชการกรุงเทพมหานครแต่ละประเภทคัดเลือกกันเอง จำนวนห้าคน ได้แก่
    • ผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ จำนวนสองคน
    • ผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวนสองคน
    • ผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครในสถาบันอุดมศึกษา จำนวนหนึ่งคน
  5. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งกรรมการตาม ๑) ๒) ๓) และ ๔) ประชุมร่วมกัน คัดเลือกจากบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านการบริหารงานส่วนท้องถิ่น ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านระบบราชการ ด้านการบริหารและการจัดการด้านกฎหมาย ด้านการศึกษา หรือด้านอื่นที่เป็นประโยชน์แก่การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร จำนวนห้าคน

  ให้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นรองประธานกรรมการ และหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเลขานุการ ก.ก. ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครดำเนินการให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครคัดเลือกกันเองเป็นผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้แทนกรุงเทพมหานคร ในส่วนของผู้แทนบุคลากรกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคัดเลือกกรรมการตาม (๓) ในส่วนของผู้แทนบุคลากรกรุงเทพมหานคร รวมทั้งกรรมการตาม (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ก.

  1. ให้คำแนะนำแก่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคล การจัดระบบราชการกรุงเทพมหานคร และการพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
  2. ร่วมกับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเสนอให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๔๔
  3. ออกกฎ ก.ก. ข้อบังคับ หรือระเบียบ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่นที่พระราชบัญญัตินี้ให้นำมาใช้บังคับ กฎ ก.ก. เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
  4.  ให้ความเห็นชอบการตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงสำนัก หรือการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร
  5. ให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลังของหน่วยงานในกรุงเทพมหานคร
  6.  พิจารณาเทียบตำแหน่งและระดับตำแหน่งของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
  7. ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ เมื่อ ก.ก. มีมติเป็นประการใดแล้วให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติตามนั้น
  8. กำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อรักษาความเป็นธรรมและมาตรฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลรวมทั้งตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ในการนี้ ให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานจากหน่วยงานและส่วนราชการ การพาณิชย์หรือสหการในสังกัดกรุงเทพมหานคร และให้ผู้แทนหน่วยงานและส่วนราชการ การพาณิชย์หรือสหการในสังกัดกรุงเทพมหานคร ข้าราชการกรุงเทพมหานครบุคลากรกรุงเทพมหานคร หรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงข้อเท็จจริงได้
  9. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสอบแข่งขัน การสอบคัดเลือก การคัดเลือกและการขึ้นบัญชี รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบและการคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ
  10. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
  11. พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวัน เดือน ปีเกิด และการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
  12. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น

คณะอนุกรรมการวิสามัญ

   ก.ก. มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการวิสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ก. วิสามัญ” เพื่อปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ ก.ก. มอบหมาย จำนวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้ง อ.ก.ก. วิสามัญ รวมตลอดทั้งวิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ก.

ที่มา

ก.ก. มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการวิสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ก. วิสามัญ” เพื่อปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ ก.ก. มอบหมาย จำนวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้ง อ.ก.ก. วิสามัญ รวมตลอดทั้งวิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ก.

คณะอนุกรรมการวิสามัญ

ก.ก. มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการวิสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ก. วิสามัญ” เพื่อปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ ก.ก. มอบหมาย จำนวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้ง อ.ก.ก. วิสามัญ รวมตลอดทั้งวิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ก.

 กฎ ก.ก. ว่าด้วยจำนวน  คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง วิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของ อ.ก.ก.วิสามัญ พ.ศ. 2554  ได้บัญญัติเกี่ยวกับองค์ประกอบของ อ.ก.ก.วิสามัญแต่ละคณะ และการแต่งตั้ง อ.ก.ก.วิสามัญ ดังนี้

  1. ประธาน อ.ก.ก.วิสามัญ ซึ่งแต่งตั้งจาก กรรมการ ก.ก.
  2.  อนุกรรมการ ซึ่งประกอบด้วย
    • กรรมการ ก.ก. ซึ่งมีความรู้ความสามารถประสบการณ์ตามภารกิจหน้าที่ของ อ.ก.ก.จำนวนไม่เกิน 2 คน
    •  อนุกรรมการ ซึ่งแต่งตั้งจากส่วนราชการไม่สังกัดกรุงเทพมหานครตามภารกิจหน้าที่ของ อ.ก.ก.วิสามัญคณะนั้น จำนวนไม่น้อยกว่า 2 คน แต่ไม่เกิน 5 คน
    •  อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2554 ซึ่งต้องมีความรู้   ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านการบริหารงานส่วนท้องถิ่น ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านระบบราชการ ด้านการบริหารและการจัดการ ด้านกฎหมาย ด้านการศึกษาหรือด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ อ.ก.ก.วิสามัญคณะนั้น จำนวนไม่น้อยกว่า 2 คน แต่ไม่เกิน 5 คน
    • อนุกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร จำนวนไม่น้อยกว่า 2 คน แต่ไม่เกิน 5 คน
    • ให้หัวหน้าสำนักงาน ก.ก. หรือผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงาน ก.ก.ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าสำนักงาน ก.ก. เป็นอนุกรรมการ และให้หัวหน้าสำนักงาน ก.ก.แต่งตั้งข้าราชการในสำนักงาน ก.ก. เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และอาจให้มีผู้ช่วยเลขานุการไม่เกิน 2 คนด้วยก็ได้

อำนาจหน้าที่

  1. ทำการแทน ก.ก. ในเรื่องต่างๆ ได้แก่ การปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการและ
    กรอบอัตรากำลังของหน่วยงานที่ไม่กระทบค่าใช้จ่ายด้านบุคคล การพัฒนาระบบงาน การปรับปรุงรูปแบบวิธีการทำงานและการให้บริการ การจัดทำ ปรับปรุงยกเลิกมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง การพิจารณางานเกี่ยวข้องหรือเกื้อกูลกันตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและมาตรฐานตำแหน่งวิชาการ การกำหนดอัตราเงินเดือน  เงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการไม่เกินระดับชำนาญการ ประเภททั่วไปไม่เกินระดับอาวุโส และการตรวจสอบติดตามการบริหารตำแหน่งของหน่วยงาน
  2.  ทำหน้าที่ในการกลั่นกรอง ให้ข้อเสนอแนะต่อ ก.ก. ในเรื่องการแต่งตั้ง ยุบ หรือ เปลี่ยนแปลง โครงสร้างกรอบอัตรากำลังของหน่วยงาน การวางแผนกำลังคน การจัดระบบราชการกรุงเทพมหานคร การเทียบตำแหน่งและระดับตำแหน่ง การกำหนดอัตราเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งและค่าตอบแทน การจัดระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครในการออก กฎ ก.ก. ข้อบังคับ ระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล และเรื่องซึ่งไม่อยู่ในหน้าที่ของ อ.ก.ก.วิสามัญคณะอื่น
  3. แต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อทำหน้าที่ช่วย อ.ก.ก.วิสามัญ
  4. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ ก.ก.มอบหมาย

อำนาจหน้าที่

  1.  ทำการแทน ก.ก. ในเรื่องต่างๆ ได้แก่ การตั้งและยุบเลิกสถานศึกษา การจัดทำ ปรับปรุง
    และยกเลิกมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ การประเมินค่าตำแหน่งและวิทยฐานะ การจัดระบบทะเบียนประวัติของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
  2. ทำหน้าที่ในการกลั่นกรอง ให้ข้อเสนอแนะต่อ ก.ก. ในเรื่องการการออกกฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร การกำหนดกรอบอัตรากำลัง  การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน เงินวิทยฐานะ
  3. แต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อทำหน้าที่ช่วย อ.ก.ก.วิสามัญ
  4.  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ ก.ก.มอบหมาย

อำนาจหน้าที่

  1.  ทำการแทน ก.ก. ในการตรวจสอบการดำเนินการทางวินัย
  2. ทำหน้าที่ในการกลั่นกรอง ให้ข้อเสนอแนะต่อ ก.ก. ในการพิจารณาการดำเนินการทาง
    วินัยอย่างร้ายแรง  และการออกจากราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานคร การพิจารณาออกกฎ  ข้อบังคับ    ระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และหรือเงื่อนไขเกี่ยวกับวินัยและการออกจากราชการ  การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายและทางปฏิบัติเกี่ยวกับวินัยและการออกจากราชการ ตลอดจนการกำหนดแนวทางในการเสริมสร้างและพัฒนาให้ข้าราชการรักษาวินัย และรักษาจรรยาข้าราชการ
  3.  แต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อทำหน้าที่ช่วย อ.ก.ก.วิสามัญ
  4.  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ ก.ก.มอบหมาย

อำนาจหน้าที่

  1. ทำการแทน ก.ก. ในเรื่องต่างๆ ได้แก่
    • การพิจารณาร่างกฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และหรือเงื่อนไข
      เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ไม่อยู่ในหน้าที่ของ อ.ก.ก.วิสามัญ คณะอื่น
    •  การตรวจสอบพิจารณาร่างกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และหรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ อ.ก.ก.วิสามัญคณะอื่นๆ ร้องขอ
    • การพิจารณาเรื่องอุทธรณ์และเรื่องร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่บทบัญญัติ ในหมวด 3 ข้าราชการกรุงเทพมหานคร แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554 ใช้บังคับ
  2. ทำหน้าที่ในการกลั่นกรอง ให้ข้อเสนอแนะต่อ ก.ก. ในการตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
  3. แต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อทำหน้าที่ช่วย อ.ก.ก.วิสามัญ
  4. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ ก.ก.มอบหมาย

อำนาจหน้าที่

  1. ทำหน้าที่กลั่นกรองและให้ข้อเสนอแนะต่อ ก.ก. ในการออกกฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของลูกจ้างกรุงเทพมหานครและพนักงานกรุงเทพมหานคร เพื่อสรรหาและเลือกสรร การกำหนดกรอบอัตรากำลัง การจ้าง การกำหนดค่าตอบแทน วินัย และการรักษาวินัย การประเมินผลการปฏิบัติราชการ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  2.  แต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อทำหน้าที่ช่วย อ.ก.ก.วิสามัญ
  3. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ ก.ก.มอบหมาย

อำนาจหน้าที่

  1. ทำการแทน ก.ก. ในเรื่องต่างๆ ได้แก่ วางระบบการพัฒนาข้าราชการ การบริหาร ผลงานระดับหน่วยงานและบุคคล การพิจารณาคุณสมบัติและประเมินผลงานของบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง การพัฒนาระบบข้อมูลบุคคล การพิจารณารับรองคุณวุฒิของข้าราชการกรุงเทพมหานคร การจัดระบบทะเบียนประวัติข้าราชการกรุงเทพมหานคร ยกเว้นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
  2. ทำหน้าที่กลั่นกรองและให้ข้อเสนอแนะต่อ ก.ก. ในการออกกฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานครยกเว้นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
  3. แต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อทำหน้าที่ช่วย อ.ก.ก.วิสามัญ
  4. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ ก.ก.มอบหมาย

อำนาจหน้าที่

  1.  พิจารณากลั่นกรองและให้ข้อเสนอแนะต่อ ก.ก. ในการการกำหนดนโยบาย เป้าหมายยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ วิจัย เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารทรัพยากรบุคคล พัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคล ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร วิสัยทัศน์ และแผนบริหารราชการกรุงเทพมหานคร รวมถึงศึกษาและเสนอแนะแนวคิด Best Practice ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของมหานครอื่น เพื่อนำมาพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่งเสริมคุณภาพชีวิต รักษาสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน และพัฒนาค่านิยมร่วมในองค์การ
  2. แต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อทำหน้าที่ช่วย อ.ก.ก.วิสามัญ
  3. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ ก.ก.มอบหมาย

อำนาจหน้าที่

  1. ทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาแนะนำการพัฒนาหลักสูตรด้านการส่งเสริมจริยธรรม
  2.  ป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบแก่ข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร รวมทั้งการติดตามผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ที่  3  การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักธรรมภิบาล  เพื่อให้การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบแก่ข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
  3. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ ก.ก.มอบหมาย

คณะอนุกรรมการสามัญ

ที่มา

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔ หมวด ๑ คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร มาตรา 16 ให้มีคณะอนุกรรมการสามัญประจำกรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ก. สามัญข้าราชการ” เพื่อเป็นองค์กรบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครดังต่อไปนี้

  1. คณะอนุกรรมการสามัญข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ก. สามัญข้าราชการสามัญ”
  2. คณะอนุกรรมการสามัญข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ก. สามัญข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา”
  3. คณะอนุกรรมการสามัญข้าราชการกรุงเทพมหานครในสถาบันอุดมศึกษา เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ก. สามัญข้าราชการอุดมศึกษา”

โครงสร้าง ⇘

  1. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย เป็นประธาน
  2. ปลัดกรุงเทพมหานครหรือรองปลัดกรุงเทพมหานครซึ่งปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมายเป็นรองประธาน
  3. หัวหน้าหน่วยงานที่เป็นส่วนราชการของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครซึ่งคัดเลือกกันเอง จำนวนหนึ่งคน
  4. หัวหน้าสำนักงาน ก.ก.
  5. ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งประธานตาม (๑) แต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการด้านกฎหมาย หรือด้านอื่นที่เป็นประโยชน์แก่การบริหารทรัพยากรบุคคล และมิได้เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร จำนวนสี่คน ทั้งนี้ ให้ประกอบด้วยชายและหญิง
  6. ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญซึ่งคัดเลือกกันเอง จำนวนสี่คน
  7.  ให้ อ.ก.ก. นี้ ตั้งเลขานุการหนึ่งคน และผู้ช่วยเลขานุการไม่เกินสองคน ให้ปลัดกรุงเทพมหานครจัดให้มีการคัดเลือกกรรมการตาม (๓) และ (๖) ทั้งนี้ หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการคัดเลือก ให้เป็นไปตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด

อำนาจหน้าที่

  1. พิจารณากำหนดนโยบาย ระบบ และระเบียบวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญในกรุงเทพมหานคร ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานที่ ก.ก. กำหนด
  2. เสนอแนะต่อ ก.ก. เพื่อให้ความเห็นชอบในการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานการจัดและการพัฒนาหน่วยงานในกรุงเทพมหานคร
  3. พิจารณาการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างหน่วยงานในกรุงเทพมหานคร
  4. กำหนดนโยบาย กำกับ ดูแล และส่งเสริมเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี คุณธรรม และจริยธรรม อันจะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. พิจารณากำหนดตำแหน่ง จำนวน ประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับของตำแหน่งของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ โดยต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ำซ้อนและความประหยัดเป็นหลัก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.ก. กำหนด และต้องเป็นไปตามกรอบอัตรากำลังและมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ก. กำหนด
  6. ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ และช่วย ก.ก. ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.ก. มอบหมาย

โครงสร้าง

  1. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย เป็นประธาน
  2. ปลัดกรุงเทพมหานครหรือรองปลัดกรุงเทพมหานครซึ่งปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมายเป็นรองประธาน
  3. ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา
  4. หัวหน้าสำนักงาน ก.ก.
  5. ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งประธานตาม (๑) แต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ ด้านกฎหมายหรือด้านอื่นที่เป็นประโยชน์แก่การบริหารทรัพยากรบุคคลในหน่วยงานการศึกษาและมิได้เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร จำนวนสี่คน ทั้งนี้ ให้ประกอบด้วยชายและหญิง
  6. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาซึ่งคัดเลือกกันเอง จำนวนสองคน
  7.  ผู้ดำรงตำแหน่งครูซึ่งคัดเลือกกันเอง จำนวนสองคน ให้ อ.ก.ก. นี้ ตั้งเลขานุการหนึ่งคน และผู้ช่วยเลขานุการไม่เกินสองคนให้ปลัดกรุงเทพมหานครจัดให้มีการคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครเป็นกรรมการตาม (๖) และ (๗) ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคัดเลือก ให้เป็นไปตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด

อำนาจหน้าที่

  1. พิจารณากำหนดนโยบาย ระบบ และระเบียบวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและมาตรฐานที่ ก.ก. กำหนด
  2. เสนอแนะต่อ ก.ก. เพื่อให้ความเห็นชอบในการปรับปรุงโครงสร้าง การบริหารงานการจัดและการพัฒนาหน่วยงานการศึกษา
  3. พิจารณาการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างหน่วยงานการศึกษา
  4. พิจารณาให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการพิจารณาความดีความชอบของผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครในหน่วยงานการศึกษา ทั้งนี้ ตามที่ ก.ก. กำหนด
  5. ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา การเสริมสร้างขวัญกำลังใจ การปกป้อง คุ้มครองระบบคุณธรรม การจัดสวัสดิการ และการยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
  6. พิจารณาให้ความเห็นชอบเรื่องการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารของหน่วยงานการศึกษา
  7. ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ และช่วย ก.ก. ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.ก. มอบหมาย

โครงสร้าง

  1. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย เป็นประธาน
  2. ปลัดกรุงเทพมหานครหรือรองปลัดกรุงเทพมหานครซึ่งปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย เป็นรองประธาน
  3. ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์
  4. หัวหน้าสำนักงาน ก.ก.
  5. ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งประธานตาม (๑) แต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการด้านกฎหมาย หรือด้านอื่นที่เป็นประโยชน์แก่การบริหารทรัพยากรบุคคลในสถาบันอุดมศึกษาและมิได้เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครจำนวนสี่คน ทั้งนี้ ให้ประกอบด้วยชายและหญิง
  6. ข้าราชการกรุงเทพมหานครในสถาบันอุดมศึกษาดำ รงตำ แหน่งประเภทผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาซึ่งคัดเลือกกันเอง จำนวนสองคน
  7. ข้าราชการกรุงเทพมหานครในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งคัดเลือกกันเอง จำนวนสองคนให้ อ.ก.ก. นี้ ตั้งเลขานุการหนึ่งคน และผู้ช่วยเลขานุการไม่เกินสองคน ให้ปลัดกรุงเทพมหานครจัดให้มีการคัดเลือกข้าราชการกรุงเทพมหานครในสถาบันอุดมศึกษา เป็นกรรมการตาม (๖) และ (๗) ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคัดเลือกให้เป็นไปตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด

อำนาจหน้าที่

  1. พิจารณากำหนดนโยบาย ระบบ และระเบียบวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและมาตรฐานที่ ก.ก. กำหนด
  2. เสนอแนะต่อ ก.ก. เพื่อให้ความเห็นชอบในการปรับปรุงโครงสร้าง การบริหารงานการจัดและการพัฒนาหน่วยงานการศึกษา
  3. พิจารณาการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างหน่วยงานการศึกษา
  4.  พิจารณาให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการพิจารณาความดีความชอบของผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครในหน่วยงานการศึกษา ทั้งนี้ ตามที่ ก.ก. กำหนด
  5. ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา การเสริมสร้างขวัญกำลังใจ การปกป้อง คุ้มครองระบบคุณธรรม การจัดสวัสดิการ และการยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
  6. พิจารณาให้ความเห็นชอบเรื่องการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารของหน่วยงานการศึกษา
  7. ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ และช่วย ก.ก. ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ ก.ก. มอบหมาย

ที่มา

คณะอนุกรรมการสามัญประจำหน่วยงานกรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ก.สามัญหน่วยงาน” โดยออกชื่อหน่วยงานนั้น เพื่อเป็นองค์กรบริหารทรัพยากรบุคคลของหน่วยงานกรุงเทพมหานคร ตามที่ ก.ก. กำหนด   
     หน่วยงานใดที่ ก.ก. ยังมิได้กำหนดให้มี อ.ก.ก.สามัญหน่วยงาน ให้ อ.ก.ก.สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่ อ.ก.ก.สามัญหน่วยงานนั้น โดยแต่งตั้งหัวหน้าหน่วยงานนั้นเป็นอนุกรรมการเพิ่มขึ้น
     อ.ก.ก.สามัญ หน่วยงาน ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2554 หมวด  1  (มาตรา 16) มีหน้าที่กำหนดนโยบาย ระบบ และระเบียบวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชกรุงเทพมหานครในหน่วยงาน ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานที่ ก.ก.กำหนด

โครงสร้าง

  1. หัวหน้าหน่วยงาน เป็นประธาน
  2.  รองหัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงานซึ่งหัวหน้าหน่วยงานมอบหมาย เป็นรองประธาน
  3. หัวหน้าส่วนราชการในหน่วยงานนั้นซึ่งคัดเลือกกันเอง จำนวนหนึ่งคน
  4. ผู้แทนสำนักงาน ก.ก. จำนวน 1 คน
  5. ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญ และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารการจัดการ ด้านกฎหมายหรือด้านอื่นที่เป็นประโยชน์แก่การบริหารทรัพยากรบุคคลและมิได้เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครจำนวน 4 คน  ทั้งนี้ให้ประกอบด้วยชายและหญิง
  6. ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญในหน่วยงานนั้นซึ่งคัดเลือกกันเอง จำนวน 4 คน
  7.  ให้ อ.ก.ก. ตั้งเลขานุการ 1 คน  และผู้ช่วยเลขานุการ ไม่เกิน 2 คน

อำนาจหน้าที่ 

  1. พิจารณากำหนดนโยบาย ระบบ และระเบียบวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานครในหน่วยงาน ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานที่ ก.ก.กำหนด
  2.  เสนอแนะต่อ ก.ก. เพื่อให้ความเห็นชอบในการปรับปรุงโครงสร้าง การบริหารงานและการจัดและการพัฒนาหน่วยงาน
  3. พิจารณาการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างส่วนราชการในหน่วยงาน
  4. กำหนดนโยบาย กำกับ ดูแล และส่งเสริมเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการภายในส่วนราชการในหน่วยงาน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี คุณธรรม และจริยธรรม อันจะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. ปฏิบัติตามที่ อ.ก.ก.สามัญข้าราชการ มอบหมาย
  6. ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2554 และช่วย ก.ก. ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ตามี่ ก.ก. มอบหมาย